TOP ไปที่ส่วนเนื้อหาหลัก

เว็บไซต์การท่องเที่ยวไทเป

เดินทางท่องเที่ยวไปกับสายรุ้ง

จุดยึด
เดินทางท่องเที่ยวไปกับสายรุ้ง
แผนที่การเดินขบวนพาเหรดของชาว LGBT

สำหรับไต้หวันแล้ว ปัญหาเรื่อง LGBT นั้นเป็นนำหน้าประเทศอื่นในเอเชียมาโดยตลอด และยังเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ให้การแต่งงานของกลุ่ม LGBT ได้รับการรับรองตามกฎหมาย เมื่อเดินทางมาเยือนไทเป หากคุณต้องการท่องเที่ยวพร้อมกับเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหา LGBT ไปด้วย หรือต้องการที่จะติดตามร่องรอยการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT อย่างรวดเร็ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปเยื่อนสถานที่ท่องเที่ยวต่อไปนี้

สวนสันติภาพ 228 - ประตูเหล็กสายรุ้ง
สวนสันติภาพ 228  - ประตูเหล็กสายรุ้ง

สวนสันติภาพ 228 - ประตูเหล็กสายรุ้ง

สวนสาธารณะของไทเปมีอยู่มากมาย แต่สวนที่เป็นของชาวสีรุ้งนั้นต้องที่สวนสันติภาพ 228 เท่านั้น ข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดีย สวนสันติภาพเดิมมีชื่อเรียกว่า “สวนสาธารณะใหม่” เคยเป็นจุดนัดพบที่สำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มรักร่วมเพศชายในเมืองไทเป รู้จักทั่วไปในนาม “บริษัท” (มีนัยยะต้องมาเช็คอิน เหมือนตอกบัตรเข้างานทุกวัน) ในยุคนั้นเป็นยุคแรกๆ ที่การสื่อสารข้อมูลยังไม่รับการพัฒนา วัฒนธรรมความหลากหลายทางเพศยังไม่เป็นที่สนใจ เป็นสถานที่ที่ชาวรักร่วมเพศชายบางกลุ่มมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวและสร้างการยอมรับทางเพศ และฉากในนวนิยายวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงเรื่อง “เนี่ยจื่อ” ของ ไป๋เซียนหย่ง นักเขียนชื่อดัง ได้ใช้สวนสาธารณะแห่งนี้และเรื่องราวของชาวรักร่วมเพศเป็นเวทีและดำเนินเรื่อง

ในปี 2016 เพื่อเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ฝ่ายจัดการสวนสาธารณะเทศบาลไทเป ร่วมกับกองวัฒนธรรม กองสารสนเทศและการท่องเที่ยว สมาคมสายด่วนปรึกษาปัญหากลุ่มคนรักร่วมเพศไต้หวัน สมาพันธ์ส่งเสริมสิทธิคู่รักไต้หวัน คัดเลือสวนสันติภาพ 228 ทำเป็น “พื้นที่สีรุ้ง” โดยทาสีประตูรั้วเหล็กที่มีเดิมเป็นสีเทาให้เป็นสีรุ้ง 6 แถบ ทำให้พื้นที่ในอดีตของชาวรักร่วมเพศเกิดขึ้นอีกครั้ง และยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสิทธิที่เท่าเทียมกันของสหายชาว LGBT

ถนนฉางเต๋อ
ถนนฉางเต๋อ

ถนนฉางเต๋อ

การตั้งด่านตรวจชั่วคราวบนถนนฉางเต๋อเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1997 ชาวรักร่วมเพศชายกลุ่มหนึ่งได้ถูกข่มขู่บังคับ ริบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนและถูกคุมตัวไปยังสถานีตำรวจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อถนนฉางเต๋อปราศจากคนกลุ่มนี้ หลังจากนั้นก็ไม่มีชาว LGBT คนใดอยากมาที่นี่ หลังเกิดเหตุ เกิดการอภิปรายกล่าวถึงเกี่ยวกับปัญหาของพื้นที่ของ LGBT อย่างกว้างขวาง นี่คือ "เหตุการณ์ถนนฉางเต๋อ" ในอดีต บนถนนสาธารณะแห่งนี้ ในอดีตเคยถูกใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนตัวของชาว LGBT ยอมรับในกลุ่มชาว LGBT ที่ถูกกลุ่มชาวรักต่างเพศกดขี่ในสิทธิของเขา

ถนนไข่ต๋าเก๋อหลาน ทำเนียบประธานาธิบดี
ถนนไข่ต๋าเก๋อหลาน ทำเนียบประธานาธิบดี

ถนนไข่ต๋าเก๋อหลาน ทำเนียบประธานาธิบดี

ถนนไข่ต๋าเก๋อหลานยาวประมาณ 400 เมตร กว้างประมาณ 40 เมตร สุดปลายถนนเป็นทำเนียบประธานาธิบดีที่ถูกสร้างเสร็จในปี 1919 บนแผ่นดินไต้หวันแห่งนี้ ถนนไข่ต๋าเก๋อหลานและทำเนียบประธานาธิบดีได้เป็นพยานในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ต่อต้านคัดค้านต่างๆ มากมายในประวัติศาสตร์

เหมือนขบวนพาเหรดของชาว LGBT ที่จัดขึ้นในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนตุลาคมของทุกปี แม้ว่าเส้นทางการเดินขบวนของแต่ละปีจะแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้ถนนไข่ต๋าเก๋อหลานเป็นจุดนัดพบในการทำกิจกรรม การเดินขบวนพาเหรดของชาว LGBT ในปี 2018 ที่หวังให้การลงประชามติในการลงคะแนนเลือกตั้งระดับประเทศของไต้หวันในปี 2018 สองรายการ ได้แก่ “ความคุ้มครองในการสมรสร่วมเพศ ในบทการสมรสของกฎหมายแพ่ง” และ “การศึกษาที่มีทัดเทียมทางเพศ” ให้ผ่านมติในการประชุมสภาระดับประเทศ แม้ว่าผลลัพธ์จะไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย แต่ถนนสายนี้ยังคงเป็นพยานถึงพลังของสายรุ้ง

ร้านหนังสือจิงจิง
ร้านหนังสือจิงจิง

ร้านหนังสือจิงจิง

สำหรับคนที่สนใจเรื่องของชาว LGBT ต้องเคยได้ยินชื่อร้านหนังสือจิงจิง ร้านนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999 ได้เข้าร่วมเดินขบวนพาเหรดของชาว LGBT ไต้หวันมาเป็นเวลานาน ต่อสู้เพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของชาว LGBT ไต้หวัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญของการเคลื่อนไหวของชาว LGBT ไต้หวัน

ร้านหนังสือจิงจิงตั้งอยู่ในซอยที่เงียบสงบด้านหลังอาคารสำนักงานการไฟฟ้าไต้หวัน เป็นร้านหนังสือและยังเป็นจตุรัสชีวิต จำหน่ายสินค้าคุณภาพเยี่ยมต่างๆ และยังมีการจัดกิจกรรมนิทรรศการและงานศิลปะวัฒนธรรมมากมายหลายประเภท ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ของชาว LGBT ที่มีความปลอดภัย เหมาะสมและอบอุ่น แต่ยังเป็นตัวบ่งชี้ทางจิตวิญญาณของอาณาจักรสีรุ้ง

ตึกแดงซีเหมิน
ตึกแดงซีเหมิน

ตึกแดงซีเหมิน

ตึกแดงซีเหมินตั้งอยู่ในซีเหมินติงที่คึกคักมีชีวิตชีวา เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ หอแดงในยุคที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน รู้จักกันทั่วไปในนาม “หอแปดเหลี่ยม” ออกแบบสถาปนิกชาวญี่ปุ่น คอนโดะ จูโร่ ในปี 1908 เดิมเป็นตลาดของรัฐแห่งแรกในไต้หวัน สาธารณะที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรกในไต้หวัน และยังเป็นโบราณสถานระดับ 3 ที่ถูกอนุรักษ์เอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบ “รูปปากว้า” ของตึกแปดเหลี่ยม หมายถึงการรวบรวมเมฆแปดทิศทำเป็นทางเข้า “รูปกากบาท” ของตึกรูปกากบาท เป็นจุดเด่นของตัวอาคาร นอกจากนี้ทั้งสองข้างยังติดกับลานจัตุรัสเหนือและใต้ ร่วมกันเรียกว่า “ตึกแดง ซีเหมิน”

ปัจจุบันตึกแดงซีเหมินได้ผสมผสานเข้ากับงานวัฒนธรรมสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัว มีการจัดกิจกรรมดานแฟชั่นและนิทรรศการต่างๆ บวกกับตลาดนัดงานวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวแบบฮิปสเตอร์

ตึกแดงซีเหมิน ยังเป็นแหล่งรวบรวมบาร์เหล้าสำหรับชาว LGBT แบบกลางแจ้ง และเปิดเผยที่หาได้ยาก เป็นสถานที่ที่ชาว LGBT ใช้กินดื่มเพื่อผ่อนคลายหรือให้ความรู้สึกที่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมรักร่วมเพศ

มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน
มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติอันยาวนานและมีวิทยาเขตที่กว้างใหญ่ ไม่ได้เป็นแค่มหาวิทยาลัย แต่เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวหลายคนหลงรัก เช่นถนนป่ามะพร้าวที่มีความยาวประมาณ 400 เมตร เป็นทัศนียภาพที่มีความเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันมากที่สุด เมื่อเดินจนสุดทางก็จะถึงหอสมุดใหญ่ มีนักท่องเที่ยวมากมายชอบมาที่นี่ บางครั้งยังจะได้เห็นคู่แต่งงานมาถ่ายรูปพรีเว็ดดิ้งที่นี่ นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบจุ้ยเยวี่ยหู หอนาฬิกาฟู่จงและฟาร์มเกษตรไถต้าเป็นต้น ล้วนเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบเช่นกัน

ในฐานะมหาวิทยาลัยแห่งแรกในไต้หวัน ชมรมของคนรักร่วมเพศของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันที่กำลังเฟื่องฟู เช่นชมรมคนรักร่วมเพศสตรี "ชมรมศึกษาวิจัยวัฒนธรรมรักร่วมเพศของสตรี” (เรียกสั้นๆ λ อ่านว่าแลมบ์ดา) ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 1994 ในปี 1995 ได้จดทะเบียนเป็นชมรมอย่างเป็นทางการกับทางมหาวิทยาลัย เป็นชมรมคนรักร่วมเพศสตรีที่ “ถูกต้องตามระเบียบ” ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไต้หวัน

ชมรมอื่นๆ รวมถึงชมรมแลมบ์ดา เวิร์คช้อปทางเพศของสโมสรนักศึกษา ชมรมศึกษาวิจัยสตรี ชมรมBDSM และชมรม GAY CHAT ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เคยเดินขบวนเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิความเสมอภาคให้กับกลุ่มคนรักร่วมเพศ

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเป
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเป

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเป

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเปสร้างเสร็จในปี 1921 เดิมเป็น "โรงเรียนประถมฯ เจี้ยนเฉิง" เพื่อให้ลูกหลานของชาวญี่ปุ่นได้รับการศึกษาในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน หลังปี 1945 ถูกใช้เป็นที่ว่าการเทศบาลเมืองไทเป ในปี 2001 อาคารสำนักงานเก่าได้รับการเปิดใช้งานใหม่และกลายเป็น "พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย" แห่งเดียวในไต้หวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็กลายเป็นสถานที่สำคัญแห่งใหม่บนแผนที่วัฒนธรรมของไทเป

ในปี 2017 ประกาศการตีความกฎหมายฉบับที่ 748 ของสภาตุลาการ ประกาศให้กฎหมายแพ่งในปัจจุบัน การห้ามมิให้คนรักร่วมเพศสมรสกันนั้นเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในปีที่ผู้พิพากษาตีความสนับสนุนการสมรสของคนรักร่วมเพศให้ถูกต้องตามกฎหมาย พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเปเป็นหอศิลป์อย่างเป็นทางการแห่งเดียวที่จัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องพอดี ใช้ชื่อว่า “"แสงและความร่วมมือ - นิทรรศการศิลปะ LGBTQ ร่วมสมัยแห่งเอเชีย" ไม่เพียง แต่ดึงดูดสำนักข่าว CNN ของสหรัฐฯ มาทำข่าว และยังขึ้นหน้าหนึ่งของ CNN อีกด้วย

นิทรรศการเกี่ยวกับ LGBTQ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ หมายความว่ารัฐบาลรับประกันต่อทัศนคติในสิทธิที่เท่าเทียมกันของ LGBT ประกาศการตีความกฎหมายฉบับที่ 748 ของสภาตุลาการ ประกาศให้กฎหมายแพ่งในปัจจุบัน การห้ามมิให้คนรักร่วมเพศสมรสกันนั้นเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ หอศิลป์ท้องถิ่นในไทเปกล่าว สามารถออกเสียงเรียกในปี 2017 นั้นมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ร่วมสมัยอย่างยิ่ง

ที่ว่าการนครไทเป สภาเทศบาลนครไทเป
ที่ว่าการนครไทเป สภาเทศบาลนครไทเป

ที่ว่าการนครไทเป สภาเทศบาลนครไทเป

ที่ตั้งของอาคารที่ว่าการนครไทเปเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของพื้นที่โครงการซิ่นอี้ ตั้งอยู่สุดถนนเหรินอ้าย หากขึ้นไปบนตึกไทเป 101 ก็จะมองที่ว่าการนครไทเป สามารถมองเห็นอาคารทั้งหมดเป็น “รูปเครื่องหมายบวกสองอัน” พิพิธภัณฑ์ไทเปดิสคัฟเวอรี่ที่ตั้งอยู่ภายในอาคารที่ว่าการฯ มีเนื้อหานิทรรศการและบริการบรรยายที่หลากหลาย เป็นจุดแรกที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้รู้จักไทเป

ในปี 2016 เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอของสมาชิกสภาเทศบาลนครไทเป เช้าตรูของวันที่ 29 ตุลาคม ในเดินขบวนพาเหรดครั้งที่ 14 ของชาว LGBT ณ อาคารที่ว่าการนครไทเป เป็นครั้งแรกที่มีการเชิญธงชาติขึ้นพร้อมกับธงสีรุ้ง นี่คือการพฤติกรรมที่แสดงถึง “การยอมรับนับถือในความหลากหลาย” ร่วมกันของที่ว่าการนครไทเปกับสภาเทศบาลนครไทเป และยังเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขกฎหมายการสมรสร่วมเพศในเวลานั้น

สายรุ้งหมายเลข 6 / Rainbow Six
สายรุ้งหมายเลข 6 / Rainbow Six

สายรุ้งหมายเลข 6 / Rainbow Six

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2019 ไต้หวันกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่การสมรสของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ในเมืองไทเปภายใต้ความพยายามของหลายฝ่าย ในวันที่ 25 กันยายนของปีเดียวกัน มีภาพสายรุ้ง “สายรุ้งหมายเลข 6 / Rainbow Six" ตั้งอยู่ที่ทางออก 6 ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินซีเหมินติง เป็นสัญลักษณ์ในการเร่งรัดพยายามที่จะเรียกร้องความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ในความเสมอภาคทางเพศและความเป็นมิตรทางเพศของเมืองไทเป และยังทำให้ภาพบรรยากาศสายรุ้งใหม่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่เช็คอินยอดนิยมของเมืองไทเป

การเดินขบวนพาเรดสายรุ้ง
การเดินขบวนพาเรดสายรุ้ง

การเดินขบวนพาเรดสายรุ้ง

ในเดือนกันยายนปี 2020 "ขบวนพาเรดสายรุ้ง" ของเมืองไทเปเกิดขึ้นที่เขตตะวันออกของเมืองไทเป! ตั้งอยู่ในพลาซ่าเดิมของรัฐบาลเมืองไทเป

ภูมิทัศน์สีรุ้งที่นี่ขยายจากศาลาว่าการไปยังทิศทางของรัฐสภา เส้นทางถูกวาดอย่างยอดเยี่ยมในรูปแบบคล้ายกับรันเวย์ ซึ่งเหมือนกับการวิ่งไปสู่จุดเริ่มต้นของความสุข มันไม่เพียงได้ถ่ายทอดเกี่ยวกับการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ แต่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจเดิมของชาวLGBT เมืองไทเป ขบวนพาเหรดของสหายLGBT ชาวไต้หวันจะเริ่มที่หน้ารัฐบาล เส้นทางสายรุ้งนี้รุ้งเป็นงานที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอ โดยทุกคนก้าวไปอย่างมั่นคงจากหน้าศาลากลาง และมุ่งหน้าต่อไปสู่ถนนแห่งความสุข

การเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน

ภาพเบื้องหลังการเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018

ภาพเบื้องหลังการเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018

ธงสีรุ้งในการเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018

ธงสีรุ้งในการเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018

ภาพเบื้องหลังการเดินขบวนพาเหรดบริเวณรอบสถานีรถไฟไทเป

ภาพเบื้องหลังการเดินขบวนพาเหรดบริเวณรอบสถานีรถไฟไทเป

ผู้เข้าร่วมเดินขบวนโบกธงสีรุ้งและเต้นรำบนสะพานบก

ผู้เข้าร่วมเดินขบวนโบกธงสีรุ้งและเต้นรำบนสะพานบก

ขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018 บนถนนเหิงหยาง

ขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018 บนถนนเหิงหยาง

ขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018 บนถนนก่วนเฉียน

ขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวัน 2018 บนถนนก่วนเฉียน

แหล่งที่มาของภาพ: "ผู้จัดงานเดินขบวนพาเหรดของ LGBT ไต้หวันปี 2019"

บันทึกการเรียกร้องสิทธิของของ LGBT ไทเป

เวลา

เหตุการณ์

2000/9

กิจกรรมพลเมือง LGBT ครั้งที่ 1

2011/2

กองกิจการพลเรือนจัดทำรายงานการติดต่องานของ LGBT

2014/3

  • จัดตั้งสำนักงานความเสมอภาคทางเพศ
  • แก้ไขคู่มือสำนักทะเบียนราษฎร์ที่เป็นมิตรต่อเพศที่สาม

2015/3/6、7

เปิดฟอรัมสาธารณะในหัวข้อเรื่องเพศ ครั้งที่ 1 ทำให้การปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของกลุ่มคนรักร่วมเพศกลายเป็นความจริง

2015/6/17

สำนักทะเบียนราษฎรเปิดให้ลงบันทึกหมายเหตุว่าเป็นคู่รักร่วมเพศ

2015/8/20

ที่ว่าการนครไทเปเสนอคำร้องตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของคนที่มีเพศเดียวกัน

2015/10/24

พิธีแต่งงานร่วมเปิดให้คู่รักที่เป็นเพศเดียวกันเข้าร่วมงาน

2015/12

เจ้าหน้าที่ของที่ว่าการนครไทเปที่จดทะเบียนเป็นคู่รักร่วมเพศ สามารถยื่นขอลางานเพื่อดูแลครอบครัวหรือขอลางานเพื่อจัดงานศพได้

2016

การแก้ไข "คู่มือการรักษาพยาบาลที่เป็นมิตรต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศ" ฉบับใหม่

2016/12/26

ออกหนังสือหลักฐานว่าเป็นคู่รักร่วมเพศ

2017

เปิดให้คู่รักร่วมเพศมีสิทธิยื่นคำร้องขอบ้านประชารัฐได้

2017/5/24

ที่ประชุมผู้พิพากษาใหญ่ตอบรับการร้องขอให้ตีความกฎหมายของนายฉีเจียเหว่ยและที่ว่าการนครไทเป จัดทำประกาศการตีความ ฉบับที่ 748

2018

ร่าง "หลักการอ้างอิงสำหรับการสร้างห้องน้ำแบบไม่แยกเพศของหน่วยงานในสังกัดที่ว่าการนครไทเป"

2019/5/17

สภาบริหารไต้หวันผ่านพระราชบัญญัติการอ่านกฎหมายครั้งที่สาม “การตีความและการบังคับใช้ประกาศการตีความกฎหมายฉบับที่ 748 ของสภาตุลาการ”

2019/5/24

คู่รักร่วมเพศสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะบ้านราษฎร์ได้

หลังผ่านกฎหมายการตีความกฎหมายฉบับที่ 748 สิทธิประโยชน์ของกลุ่มคนรักร่วมเพศในไทเปมีการพัฒนามากขึ้น!

แนวปฏิบัติใหม่

ให้ความช่วยเหลือ

เขตให้คำปรึกษาสำหรับ LGBT

ตั้งแต่สำนักทะเบียนราษฎร์ บทบาทในครอบครัว สวัสดิการสังคม การศึกษา การรักษาพยาบาล สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ช่องว่างเป็นต้น รวมถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของกลุ่มคนรักร่วมเพศ และได้จัดตั้งสายตรงบริการข้อมูลสำหรับ LGBT: โทร 1999 ต่อ 2524

พิธีมงคลสมรส

ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2019 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศใช้กฎหมายการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันอย่างเป็นทางการ ในวันนั้นที่ว่าการนครไทเปได้จัดพิธีมงคลสมรสกลางแจ้งขึ้นที่ลานจัตุรัสซิ่นอี้

เพิ่มความตระหนักและการรับรู้ที่ไวต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศและชนกลุ่มน้อยทางเพศ

สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการโดยตรงกับประชาชน เช่นเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ ตำรวจ แพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนราษฎร์และเจ้าหน้าที่ของที่ว่าการเขตเป็นต้น ตัวอย่างเช่นนักสังคมสงเคราะห์ตำรวจการแพทย์การบริหารครัวเรือนและเจ้าหน้าที่อำเภอเป็นต้นเพิ่มความตระหนักและการรับรู้ที่ไวต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศและชนกลุ่มน้อยทางเพศอื่นๆ ให้มากาขึ้น หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติทางตรงหรือทางอ้อมเนื่องจากความไม่คุ้นเคยในกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือความไม่เข้าใจประสบการณ์ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น

เศรษฐกิจสีรุ้ง

"เว็บไซต์ท่องเที่ยวไทเป" เปิดตัวเว็บไซต์การท่องเที่ยวสีรุ้ง “เดินทางท่องเที่ยวไปกับสายรุ้ง” ขึ้นเป็นครั้งแรก

Top